วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Search engine

            search engine  หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ 

ตัวอย่าง search engine
1.http://www.google.com
2.http://www.blogger.com
3.http://www.sanook.com
4.http://www.yahoo.com
5.http://th.msn.com

เทคนิค search ขั้นสูง
 1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน
16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com/)
17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย
ที่มา
http://www.mindphp.com/modules.php?name=News&file=article&sid=70
http://th.wikipedia.org/wiki/เสิร์ชเอนจิน
http://www.clickmedesign.com

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

  ห้องเรียนเสมือนจริง
    ความหมาย   การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้
          . ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่า หมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ ผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให ้ บริการเว็บ (Web Server) อาจ เป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน (ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540)
          บุญเกื้อ ควรหาเวช ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมาย ถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย
(บุญเกื้อ ควรหาเวช. 2543: 195)
โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมาย ถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็น การเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน

ที่มา

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Blog คืออะไร

ความหมาย
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
 Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
 ข้อดีของBlog
  1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น 
  2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ
  3. เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยอิสระ 
  4. สามารถสร้างเครือข่ายได้
  5. เป็นประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้
  6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้
  7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี
  8. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
  9. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน
  10. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน

ข้อเสียของBlog
  1.  บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบอาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม
  2. ผู้ให้บริการบล็อกไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% 
  3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ 
  4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก 
  5. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
  6. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล 
  7. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ 
  8. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้

รายชื่อผู้ให้บริการบล็อก
•    บล็อกเกอร์ (กูเกิล)
•    ไทป์แพด
•    เวิร์ดเพรสส์
•    ยาฮู! 360? หรือ ยาฮู!เดย์ (ยาฮู!)
•    วินโดวส์ไลฟ์ สเปซเซส (ไมโครซอฟท์)
•    มายสเปซ
•    มัลติไพล
ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทย
•    Blognone บล็อกสำหรับเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีและข่าวไอทีอย่างเดียว
•    เอ็กซ์ทีน
•    GotoKnow
•    Bloggoo
•    learners.in.th
•    บล็อกแก๊ง
•    โอเคเนชั่น

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
 เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  
- (www.wijai48.com/39841 : 26/06/2554)
 บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
สรุป
กระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สื่อหลายมิติในการเรียนการสอน (Hyper Media)

-(pongpipath.multiply.com : 26/06/2554)
          มี การนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อน ไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำลทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย

-(school.obec.go.th : 26/06/2554)
               น้ำทิพย์    วิภาวิน    (2542:53) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นเทคนิคที่ต้องการใช้สื่อผสมอื่น ๆ ที่คอมพิวเตอร์สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
               วิเศษศักดิ์     โคตรอาชา   (2542:53)  กล่าว ว่า สื่อหลายมิติ Hypermedia เป็นการขยายแนวความคิดจาก Hypertext อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถผสมผสานสื่อและ อุปกรณ์หลายอย่างให้ทำงานไปด้วยกัน
              กิดานันท์    มลิทอง  (2540:269) กล่าวไว้ว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะ ไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ ภาพกราฟิคในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวได้หลายรูปแบบมากกว่าเดิม

-(yupapornintreewon017.page.tl : 26/06/2554)
การนำเสนอเนื้อหาแบบข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติเป็นการนำเสนอเนื้อหาใน ลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม ซึ่งเป็นกรอบความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะ ที่คล้ายคลึงกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิต ดังนั้น ข้อความหลาย มิติและสื่อหลายมิติจึงทำให้สามารถคัดลอกและจำลองเครือข่ายโยงใยความจำของ มนุษย์ได้ การใช้ข้อความหลายมิติและสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนจึงช่วยให้ ผู้เรียน
สรุป
การนำสื่อหลายมิติมาช่วยในการเรียนการสอนเป็นการใช้สื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านสื่อหลายๆประเภท

ที่มา
http://pongpipath.multiply.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://school.obec.go.th/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://yupapornintreewon017.page.tl/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

สื่อการสอน

-(edtech.edu.ku.ac.th : 26/06/2554)
หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

-(sps.lpru.ac.th : 26/06/2554)
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

-(pineapple-eyes.snru.ac.th : 26/06/2554)
         นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษาได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น
         ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
         บราวน์ และคณะกล่าวว่าจำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
         เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็น อย่างดี
         ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่าวัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการ สื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า
         สื่อการเรียนหมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอนเร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
         สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุและวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป
        โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียนหรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูดการอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างประสบการณ์ทางการศึกษาให้แก่ผู้ เรียน  สื่อการสอนมีให้เลือกมากชนิด   สิ่งสำคัญคือผู้สอนจะต้องเลือกและใช้ สื่อการสอนให้เหมาะกับบทเรียน  สื่อการสอนนั้นจะต้องใช้ได้อย่างสะดวกและที่ สำคัญก็คือเมื่อนำมาใช้แล้วช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
สรุป
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน
ที่มา
http://edtech.edu.ku.ac.th : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://sps.lpru.ac.th : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://pineapple-eyes.snru.ac.th : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT)

- (th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีสารสนเทศ : 26/06/2554)
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
- (www.csjoy.com : 26/06/2554)
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การว่างแผนบริหารการศึกษาการวางแผนหลักสูตร แนะแนวและบริการ รวมถึงการทดสอบและการพัฒนาบุคลากร โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่นำมาประยุกต์ เช่นระบบสารสนเทศในการสอน การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา เป็นต้น  
- (www.nmc.ac.th/database : 26/06/2554)
เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการศึกษาหมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายโทรคมนาคมที่ต่อเชื่อมกัน สำหรับส่งและรับข้อมูลและมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้โดยผ่านกระบวนการ ประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์ สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
สรุป

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา คือ การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในวงการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/เทคโนโลยีสารสนเทศ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.csjoy.com/  : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.nmc.ac.th/database : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

เทคโนโลยี (Technology)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)
หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ

-(th.wikipedia.org : 26/06/2554)
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุค ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลง ธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น

-(www.rmutphysics.com : 26/06/2554)
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
        ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
สรุป
เทคโนโลยีคือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ถึงเพื่อเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต

ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://th.wikipedia.org/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.rmutphysics.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )

-(ceit.sut.ac.th/km : 26/06/2554)
หมาย ถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ  Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)

-(www.banprak-nfe.com : 26/06/2554)
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

-(school.obec.go.th : 26/06/2554)
นวัต กรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปล ว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ
สรุป
นวัตกรรมทางการศึกษาคือ การนำนวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้แก่ผู้สอนและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน
ที่มา
http://ceit.sut.ac.th/km : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.banprak-nfe.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://school.obec.go.th/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว  
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว 
- (www.wijai48.com/39841 : 26/06/2554)
แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และ มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว 
สรุป
ทฤษฎีนี้คือการจัดการเรียนรู้ที่ดี ความจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ โดยภายในกลุ่มจะเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือและแข่งขันไปพร้อมๆกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructivism)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน 
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
- (www.wijai48.com/39841 : 26/06/2554)
แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน 
สรุป
แนวคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยตนเอง โดยมีพื้นฐานที่ว่า หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical        intelligence) 
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
- (www.wijai48.com/39841 : 26/06/2554)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น
 รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดย ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
สรุป
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ที่มา

http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  
- (www.kroobannok.com/39841 : 26/06/2554)
รุ่ง  แก้วแดง (2541 : 118)กล่าว ถึง การปฏิวัติการเรียนการสอนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ดำเนิน โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ซึงมีศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน  อมรวิวัฒน์เป็นที่ปรึกษาโดยแบ่งเป็น 5 โครงการย่อยซึ่งสอดคล้อง สุมน อมรวิวัฒน์ (2541 : 5) ได้กล่าวถึงแนวคิดใหม่ของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนว่า แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาต่อเนื่องยาว นานตลอดชีวิต ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของการเรียนรู้ผู้เรียน ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและสัมพันธ์สาระที่สมดุลเกิดขึ้นจากการ เรียนรู้ คือ ความรู้ ความคิด ความสามารถและความดีข้อความข้างต้นคือ ที่มาของทฤษฎีการเรียนรู้ 5 ทฤษฎี ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทฤษฎีมาจัดสาระและกระบวนการ เพื่อนำเสนอแก่ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้สอน ทฤษฎีการเรียนรู้
สรุป
 การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน 

ที่มา

http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.kroobannok.com/39841 : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)
 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้  
 ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
 ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

-(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้ได้แก่ กานเย นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแบบพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม  เขาอาศัยทฤษฎีที่หลากหลาย จากความร้ที่มีหลากหลายประเภท สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ่ง ใช้การเรียนร้จากง่ายไปหายาก  ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมามากแต่ก็ได้ผสมผสานการเรียนร้ ในการแสวงหาความร้ของมนุษย์  ไม่ได้ละทิ่งความร้เก่า ๆ ไปเสียที่เดียว

-(www.wijai48.com : 26/06/2554)
 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง 

สรุป
การเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง ต้องอาศัยทฤษฎีที่หลากหลาย จากความร้ที่มีหลากหลายประเภท สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ่ง ใช้การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก 

ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

-(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้ให้ความสำคัญความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่า มีคุณค่า มีความดี ความงาม ความสามารถและความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หาบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาตนเองไปส่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ได้แก่ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคมส โนลส์ แฟร์

-(www.wijai48.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า  มีความดีงาม  มีความสามารถ  มีความต้องการ  และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน  หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี  2  ทฤษฏีและ 5 แนวคิด  คือ

-   ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น  และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน  และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง  ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้  มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
 -   ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้  คือ  มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ  การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน และการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ  ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น  ปลอดภัย  ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์  เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก  เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์  เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง    หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง  ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
-   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า  ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน  การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
 -   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล  เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี  มีความดีโดยธรรมชาติ  หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น  บริบูรณ์ด้วยความรัก  มีอิสรภาพและเสรีภาพ  มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม  หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้  คือ  การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
สรุป
แนวคิดของกลุ่มนี้คือมนุษย์อยู่เหนือทุกสิ่ง มีความดีงาม ความเป็นเลิศ ทุกคนมีอิสระเสรีในการเลือกที่จะเรียนรู้ไปตามธรรมชาติของมนุษย์

ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ( Cognitivism)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)
 เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง


-(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
กลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด แนวคิดกลุ่มนี้เริ่มขบายความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปส่กระบวนการทางความคิด  ซี่งเป็นกระบวนการภายในสมอง  โดยนักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนร้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านี้นการเรียนร้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  เป็นการใช้สติปัญญาของมนุษย์ในการสร้างความร้ความเข้าใจให้แก่ตนเองนั่นเอง  เช่นทฤษฎีของเกสตัลท์ เคิร์ท เทวิล  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ และบรูนเนอร์  ทฤษฎีการเรียนร้อย่างมีความหมายของออซูเบล เป็นต้น

-(www.wijai48.com : 26/06/2554)
ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี  5  ทฤษฏี  คือ  
-   ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์  บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด  การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา  คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้
 -   ทฤษฎีสนาม (Field Theory)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน  การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยา ให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
 -   ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)  ของทอลแมน ( Tolman)  แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ  โดยใช้เครื่องหมาย  สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย

 -   ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory)  นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่  2  ท่าน  ได้แก่  เพียเจต์(Piaget)  และบรุนเนอร์(Bruner)  แนว ความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของ บุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและ การเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ  ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน
 -   ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning)  ของออซูเบล(Ausubel)  เชื่อว่า  การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน  หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์  หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ  จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

 สรุป
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด  ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรม ที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล  การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการ กระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ  การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจ

 ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)

นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้ 

-(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)

นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลวการกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus-response) การเรียนร้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  การเรียนร้ของกลุ่มนี้ใช้การวัดสังเกตุและทดสอบพฤติกรรม ได้แก่แนวคิดของทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์  ทฤษฏีการวางเงื่อนไข (Conditionign Theory) แบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ และวัตสัน การวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ ทฤษฎีการเรียนร้ของอัลส์เป็นต้น

-(www.oknation.net : 26/06/2554)

ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้  ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน  คือ
 -   ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism)   ของธอร์นไดค์(Thorndike)
 มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว  บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง  มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน  เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ  การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
 -   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)   ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี  ดังนี้
 1)  ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)   เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
  2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)  เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
  
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning)  เน้นหลักการจูงใจ  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว  ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก 

4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning)  เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล  สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า  การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก  การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้

-   ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)  มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า  การเรียนรู้จะลดลง  การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม  ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด  การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน

สรุป

มองมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ   ”พฤติกรรม”  มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด  สามารถวัดและทดสอบได้
ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึง เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
 
- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค ทิชเชเนอร์ และแอร์บาร์ต ซึ่งความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ นั้น มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนร้เกิดได้จากแรงกระต้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral-passive)  มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนร้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ได้ดี

- (www.wijai48.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

สรุป
การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม ที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึกการเรียนรู้นั้น มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนร้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่าน ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่

ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

-(www.oknation.net : 26/06/2554)
 นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

-(images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
กลุ่มนักคิดนี้ได้แก่ รุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี นักคิดเหล่านี้มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนร้ว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี การกระทำใดๆ เกิดขึ้นมาจากแรงกระต้นภายในตัวมนุษย์เอง  ธรรมชาติมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนร้และพัฒนาตนเองหากได้รับเสรีภาพในการเรียนร้ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ

-(www.wijai48.com : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

สรุป
ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะ ต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตาม ความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline)

- (www.oknation.net : 26/06/2554)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method)  และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)  เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

- (images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com : 26/06/2554)
 นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เรียนร้สิ่งที่ยาก ๆ ยิ่งยากมากเท่าไหร่ จิตจะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านี้น แนวคิดนี้มีด้วยกัน 2 กลุ่มคือ
1) กลุ่มที่เชื่อให้พระเจ้า คือ เซนต์ออกุสติน จอห์น คาลวิน และคริสเตรียน โวล์ฟ  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนร้ ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว และการกระทำใด ของมนุษย์เกิดจากแรงกระต้นภายในตัวมนุษย์ (bad-active) มนุษย์พร้อมจะกระทำความชั่วไปหากไม่อบรมสั่งสอนอบรม และเชื่อว่าสมองมนุษย์แบ่งออกเป็นสวน ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ กับ 2) ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์  ได้แก่พลาโต และอริสโตเติล โดยความเชื่อของกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนร้ ว่ามนุษย์สามารถพัฒนาการในเรื่องต่างๆ เป็นความสามาถของมนุษย์เองไม่ใช่พระเจ้า มนุษย์เกิดมามีลักษณะที่ไม่ดี ไม่เลว และการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระต้นภายใน(neutral-active) มนุษย์มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรม และมีความร้มาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระต้นความร้จะไม่แสดงออกมา

- ( www.wijai48.com : 26/06/2254)
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind)  สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  วิธีการสอนแบบโสเครติส (Socratic Method)และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
สรุป
จิตหรือสมองหรือสติปัญญา สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร  จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น ตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา  วิธีการสอนแบบโสเครติส และวิธีการสอนแบบบรรยาย
ที่มา
http://www.oknation.net/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554
http://www.www.wijai48.com/ : เข้าถึงเมื่อ 26/06/2554